เมนู

17. อรรถกถาจริยานานัตตญาณุทเทส


ว่าด้วย จริยานานัตตญาณ


คำว่า จริยาววตฺถาเน ในการกำหนดจริยา ความว่า ในการ
กำหนดจริยาทั้งหลาย คือวิญญาณจริยา อัญญาณจริยา และญาณจริยา.
อาจารย์บางพวกทำรัสสะเสียบ้าง แล้วสวดว่า จริยววตฺถาเน.

18. อรรถกถาภูมินานัตตญาณุทเทส


ว่าด้วย ภูมินานัตตญาณ


คำว่า จตุธมฺมววตฺถาเน - ในการกำหนดธรรม 4 ความว่า
ในการกำหนดธรรมทั้งหลายอย่างละ 4 ด้วยสามารถแห่งธรรมทั้งหลาย
14 มีธรรมในกามาวจรภูมิเป็นต้นหมวดละ 4.
ก็คำว่า ภูมิ - ภาคพื้น ย่อมเป็นไปในอรรถว่าปฐวีแผ่นดิน
ดุจในประโยคว่า เงินทองทั้งที่มีอยู่ในพื้นดิน ทั้งที่อยู่ในอากาศ1
เป็นต้น. เป็นไปในอรรถว่าวิสัย - สถานที่ ดุจในประโยคว่า ลูกเอ๋ย
เจ้าอย่าซ่องเสพภูมิสถานอันไม่สมควร2 เป็นต้น. เป็นไปในอรรถว่า
1. สํ.ส. 14/413. 2. ขุ.ชา. 27/863.

อุปปัชชนัฏฐาน - ที่เป็นที่เกิด ดุจในประโยคว่า กามาวจรจิต อันเป็น
ที่เกิดแห่งสุขเวทนา เป็นต้น. แต่ในที่นี้ย่อมเป็นไปในโกฏฐาสะคือ
ส่วน. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ย่อมเป็นไปในอรรถว่า ปริจเฉทะ
แปลว่ากำหนด ก็มี.

19. อรรถกถาธัมมนานัตตญาณุทเทส


ว่าด้วย ธัมมนานัตตญาณ


คำว่า นวธมฺมววตฺถาเน - ในการกำหนดธรรม 9 ความว่า
ในการกำหนดธรรมทั้งหลายอย่างละ 9 ด้วยสามารถแห่งกามาวจรกุศล-
จิต, ด้วยสามารถแห่งจิตมีความปราโมทย์เป็นมูล, และด้วยสามารถ
แห่งจิตมีมนสิการเป็นมูล.
ก็บรรดาญาณทั้ง 5 เหล่านี้ อัชฌัตตธรรม เป็นธรรมอันพระ-
โยคีบุคคลพึงกำหนดูก่อน. ฉะนั้น ท่านจึงกล่าววัตถุนานัตตญาณ
ญาณในความต่าง ๆ แห่งวัตถุไว้เป็นที่ 1, จากนั้นก็พึงกำหนดอารมณ์
แห่งนานัตตธรรมเหล่านั้น ฉะนั้นในลำดับ ต่อจากนั้นวัตถุนานัตต-
ญาณนั้น ท่านจึงกล่าวโคจรนานัตตญาณ คือญาณในความต่างกันแห่ง
อารมณ์, ญาณอีก 3 อื่นจากนั้น ท่านกล่าวโดยอนุโลมการนับด้วย
สามารถแห่งธรรม 3,4 และ 9.